ต้นมะม่วงหิมพานต์

ต้นมะม่วงหิมพานต์

สวัสดีเพื่อน ๆ ที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้  วันนี้จะมาแนะนำ ต้นมะม่วงหิมพานต์  เป็นพืชที่รู้จักกันดี และนิยมปลูกกันในหลายพื้นที่  และแต่ละพื้นที่ก็มีชื่อเรียกที่ต่างกัน  เช่น ลูกยาร่วง  ลูกเล็ดล่อ เป็นต้น   ปัจจุบันมีการปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์จำนวนมาก ในเชิงการค้า  เพราะเราสามารถใช้ประโยชน์จากเมล็ด  โดยการผ่าเอาเนื้อด้านใน  เพื่อแปรรูปเป็นเมนูต่าง ๆ เช่น  มะม่วงหิมพานต์อบเกลือ  มะม่วงหิมพานต์คั่ว  หรือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารต่างๆ  ตลอดจนเป็นเครื่องปรุงในการทำขนมต่าง ๆ

เราจะพบว่ามีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ได้อย่างมากมาย  เป็นพืชที่สามารถปลูกเป็นการค้าได้เป็นอย่างดี   เพราะมีตลาดรองรับมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทส

การใช้ประโยชน์

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นมะม่วงหิมพานต์ของชาวบ้าน  เช่น

  • ยอดอ่อน  นำมากินเป็นผักเหนาะกับขนมจีน  หรือน้ำพริกต่าง ๆ
  • เมล็ด   สามารถผ่าเอาเนื้อใน นำมาประกอบอาหารต่าง ๆ เช่น เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ต้มกุ้ง   หรือ นำเมล็ดมาคั่วให้สุก  แล้วทุบเปลือกออก  ก็จะได้เมล็ดหิมพานคั่ว สำหรับรับประทาน มีกลิ่นหอม ชวนกิน
  • ผลสุก  สามารถรับประทานได้  มีรสชาติหวานผสมฝาดเล็กน้อย นิยมโรยด้วยเกลือ และน้ำตาลทราย  รับประทานเป็นของว่าง  หรือมีการคั้นเอาน้ำไปทำเครื่องดื่ม
  • ผลอ่อน หรือ ผลแก่  สามารถนำมาแกงกะทิกับกุ้ง เนื้อหมูได้  รสชาติอร่อยยิ่งนัก
  • เมล็ดที่ผ่านการอบแห้ง  นิยมนำมาปรุงอาหารต่าง ๆ เช่น ไก่ผัดเมล็ดมะม่วงหิมพานต์  หรือใช้โรยหน้าขนมเค๊ก ขนมปัง  เป็นต้น

มะม่วงหิมพานต์ ปัจจุบันมีหลายพันธุ์ให้เลือกปลูก  แต่ที่พบโดยทั่วไป คือ ผลสีเหลืองและผลสีแดง  พันธุ์ผลสีเหลืองผลจะมีรสชาติหวานกว่าผลสีแดง    ดังนั้นหากท่านจะปลูกไว้รับประทานผลด้วย แนะนำให้ปลูกพันธุ์ที่มีผลสีเหลือง   สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย  ออกลูกปีละ 1 ครั้ง

วิธีเก็บเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

เลือกเก็บจากผลที่สุกเต็มที่  ซึ่งเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่ผลสุกเต็มที่จะมีเปลือกสีดำ  เราจะเก็บเมล็ดมาตากแดด 1-2 ครั้ง  เพื่อให้เมล็ดแห้งสนิทและไล่ความชื้นออกจากเมล็ด  และเก็บใส่กระสอบ  สามารถเก็บไว้ใช้งานได้นานหลายเดือน    หากตากแดดไม่แห้งสนิทเมื่อเราเก็บส่กระสอบ  อาจเกิดเชื้อราขึ้นที่ผิวของเมล็ด

การผ่าเมล็ด

เปลือกของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์  มีความแข็ง เราต้องผ่าเอาเนื้อในมารับประทาน   แต่การผ่าเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ต้องระมัดระวัง  เพราะในเปลือกมียาง ที่เป็นพิษต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไหม้ได้  ดังนั้นท่านต้องสวมถุงมือ เมื่อผ่าเมล็ด  และระวังอย่าให้ยางของเมล็ดกระเด็นเข้าตา

ดังนั้นท่่านที่มีพื้นที่  สามารถปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์ไว้รับประทานในครัวเรือนได้  โดยเฉพาะการเก็บยอดรับประทาน  ซึ่งสามารถเก็บรับประทานได้ทั้งปี  เป็นพืชที่ทนแล้งได้เป็นอย่างดี  ไม่ต้องดูแลมาก

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *