เจาะน้ำคร่ำ จำเป็นหรือไม่

แม่และเด็ก

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ทุกท่านวันนี้จะมาแบ่งปันประสบการณ์เรื่องการเจาะน้ำคร่ำ ในผู้หญิงตั้งท้องเพื่อเช็คความผิดปรกติของทารกในครรภ์ ซึ่งจะใช้วิธีการตรวจน้ำคร่ำสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากว่า 35 ปีขึ้นไป

ทำไมต้องเจาะน้ำคร่ำ – เพื่อตรวจความผิดปรกติของทารกในครรภ์ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

ภรรยาได้ตั้งท้องเมื่ออายุ 35 ปี และได้ฝากท้องที่คลีนิคแห่งหนึ่ง และได้เดินทางไปพบคุณหมอเพื่อตรวจครรภ์ทุกครั้ง และเมื่อถึงอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 18-20 คุณหมอได้แนะนำเรื่องการตรวจความผิดปรกติของทารก ซึ่งสามารถตรวจได้หลายวิธี เช่น ตรวจเลือด การเจาะน้ำคร่ำ แต่การตรวจจากน้ำคร่ำให้ผลที่ชัดเจนและแม่นยำที่สุด ( แต่มีผลข้างเคียงคืออาจเกิดอาการแท้งได้ แต่มีเปอร์เซนต์น้อยมาก )

เราทั้งสองคนตกลงจะให้คุณหมอเจาะน้ำคร่ำ แต่ต้องไปเจาะที่โรงพยาบาล ซึ่งคุณหมอจะเดินทางไปเจาะให้เอง จากนั้นคุณหมอก็ทำใบส่งตัวและใบนัดเจาะน้ำคร่ำให้เราไปยื่นที่โรงพยาบาล

เมื่อถึงวันนัดเราเดินทางไปโรงพยาบาล และได้ทำการเจาะน้ำคร่ำเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งหลังจากเจาะน่ำคร่ำเสร็จ ท่านที่ทำงานประจำ คุณหมอจะให้ลาหยุดงานประมาณ 3 วัน เพื่อพักผ่อน ( หลังเจาะน้ำคร่ำ ไม่ควรเดินมากนัก และห้ามยกของหนัก ) จากนั้นรอฟังผลการตรวจน้ำคร่ำจากโรงพยาบาล ซึ่งจะออกผลการตรวจใน 3 สัปดาห์

วิธีการเจาะน้ำคร่ำ – โดยการใช้เข็มขนาดเล็ก เจาะผ่านหน้าท้อง เข้าไปยังถุงน้ำคร่ำภายในครรภ์ จากนั้นแพทย์จะดูดเอาน้ำคร่ำปริมาณ 25-30 มิลลิลิตร ออกมาเพื่อนำไปตรวจ ซึ่งก่อนการเจาะแพทย์จะต้องตรวจครรภ์ด้วยวิธีอัลตราซาวด์ เพื่อระบุตำแหน่งที่จะเจาะ เพื่อไม่ให้เข็มเข้าไปโดนกับทารกในครรภ์

ผลการตรวจน้ำคร่ำของภรรยา ผลออกมาเป็นปรกติ ทารกในครรภ์ปรกติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *